มหาอำมาตย์โท นายพันเอก เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์

05 พฤศจิกายน 2018, 10:38:44

มหาอำมาตย์โท นายพันเอก เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2402 - 5 มกราคม พ.ศ. 2453) เป็นเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน





 



พระประวัติ

เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยสุริยะ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 5 ค่ำ ปีมะแม จ.ศ. 1221 (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2402) เป็นโอรสในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 กับแม่เจ้ารินคำ และเป็นนัดดา (หลานปู่) ในพระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) นครเชียงใหม่ และราชนัดดา (หลานตา) ในเจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6
เจ้าน้อยสุริยะได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชบุตร เมื่อปี พ.ศ. 2432 เป็นเจ้าราชวงศ์ในปี พ.ศ. 2436 และวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษ์เกษตร์ วรฤทธิ์เดชดำรง จำนงยุติธรรมสุจริต วิศิษฐสัตยธาดา มหาโยนางคราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่โดยมีพิธีการตั้งเจ้าผู้ครองนครเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 นับเป็นเจ้านครเชียงใหม่องค์แรก ภายหลังปี พ.ศ. 2442 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยมีมณฑลพายัพ หรือ มณฑลลาวเฉียง และมณฑลมหาราษฎร์ เป็นมณฑลในอาณาจักรล้านนา โดยราชสำนักกรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงขึ้นมาช่วยให้คำแนะนำเจ้านายฝ่ายเหนือในการบริหารราชการ และได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเสนากรมขึ้นมาใหม่ 6 ตำแหน่ง โดยให้คงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครอยู่ แต่ลดอำนาจลง และในที่สุดในปี พ.ศ. 2442 ล้านนาได้ถูกปฏิรูปการปกครองเป็นแบบ มณฑลเทศาภิบาล เป็นการยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราช และผนวกดินแดนล้านนาที่อยู่ใต้การปกครองของเชียงใหม่มาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม
ต่อมาวันที่ 15 ธันวาคม 2444 ได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันเอก
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ป่วยด้วยโรคปอด จนถึงแก่พิราลัยในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2453 (หรือปี พ.ศ. 2452 หากนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นศักราชใหม่) รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 8 ปี ชันษา 50 ปี

พระจริยวัตร

เจ้าน้อยสุริยะ ในฐานะเจ้าอุปราช รักษาการเมืองนครเชียงใหม่ ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากกรุงเทพ ด้วยเหตุที่ว่า เจ้าอุปราชเป็นคนไม่เอาการเอางาน ไม่คิดจะทำงานให้บ้านเมือง แสวงหาแต่ประโยชน์สุขส่วนตน และยังเชื่อคำยุยงประจบสอพลอของข้าบ่าวบริวารจนเสียการงานไปหมด ดังปรากฏในรายงานของพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วีรยศิริ) ต่อกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีมหาดไทย ซึ่งมีใจความว่า "...เจ้านายพระยาท้าวแสน ไม่หันหน้าหาพวกข้าหลวง คอยแต่ขัดขวางทุกอย่าง เพราะเมื่อครั้งพระยาทรงสุรเดชนั้นกลัวนัก ครั้นนึกถึงพระยานริศราชกิจ เห็นพระยานริศราชกิจเป็นคนใจดี นึกเสียว่ากลัว เลยขัดขวางพระยานริศราชกิจทำอะไรไม่ได้ การที่ขัดขวางต่างๆนั้น เปนด้วยพวกพระยาลาวแลคนไทยหลายคนยุให้ทำพวกเจ้านาย โง่ เขลา ก็ทำตามจนหมดอำนาจเชียงใหม่ ตกลงพวกพระยาผู้น้อยมีอำนาจบังคับการบ้าน การเมือง ได้เด็ดขาด เอาเจ้านายไว้เปน ลูกไก่ แล้วแต่พวกเจ้าพระยาจะใช้หรือยุให้ทำอะไร..."
รัฐบาลสยามไม่พอใจการทำงานของเจ้าอุปราช (น้อยสุริยะ) เป็นอย่างมาก รัฐบาลสยามถึงกับต้องว่าจ้างชายาของเจ้าอุปราชคอยดูแลและกำกับตัวเจ้าอุปราช ดังโทรเลขของพระยาศรีสหเทพต่อกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2443 ใจความตอนหนึ่งว่า "...ได้จัดตั้งเบี้ยหวัดเจ้าทิพเนตร ปีละ ๕๐๐ รูเปีย เท่ากับแม่นางภัณฑารักษ์ ยกขึ้นให้เปนข้าราชการฝ่ายผู้หญิง เงินเบี้ยหวัดรายนี้ ได้บอกให้เจ้าทิพเนตรเข้าใจว่า ถ้าเจ้าอุปราชเมา หรือไม่รับราชการดี จะลดหย่อนเงินเดือนเสีย ถ้ายังไม่ฟัง ขืนเมาหรือขืนเชื่อคำคนสอพลอยุยง ให้เจ้าทิพเนตรฟ้องต่อข้าหลวงใหญ่ อนึ่งเงินค่าตอไม้ แม่ปิง แม่ฮ่องสอน ซึ่งเจ้าผู้ครองเมืองเก็บได้ จะยกเอาเปนของหลวง..."

พระโอรส-ธิดา

เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ มีพระชายา 3 พระองค์ โดยมีราชโอรส 1 พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่

ใน เจ้าทิพเนตร - ราชธิดาใน "เจ้าหนานมหาเทพ ณ เชียงใหม่ - มีราชโอรส 1 พระองค์

เจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) พระบิดา เจ้าจันทร์พงษ์ ณ เชียงใหม่ และ เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ ใน เจ้าจันทร์จร ณ เชียงใหม่

พระบิดา ใน เจ้าหญิงลดาคำ ณ เชียงใหม่ ชายาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และเป็นพระอัยกา (เจ้าตา) ในหม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล และท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี

ใน หม่อมแสง (ไชยคุณา) ไม่มีราชโอรส ราชธิดา

ใน หม่อมแส ผู้รักษาตราประทับประจำพระองค์ ไม่มีราชโอรส ราชธิดา

Cr.วิกิพีเดีย









 



**************************************************
บริการจัดทัวร์ 
ทัวร์เชียงตุง ทัวร์เมืองยอง ทัวร์สิบสองปันนา ทัวร์คุนหมิงจีน ทัวร์หลวงพระบาง ทัวร์วังเวียงลาว ทัวร์มัณฑเลย์ ทัวร์พุกาม ทัวร์ทะเลสาบอินเล ทัวร์ตองจี ทัวร์รัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

สละเวลาอ่านเพียงนิดแล้วจะเข้าใจชีวิตมากขึ้น

เจ้านางเศรษฐีผู้เลอโฉมและเก่งกล้า แห่งนครเชียงตุง

เจ้านางขันคำแห่งหอเจียงจันทร์

เรื่องเล่าของนางรำจากอีกด้านของกระจก ใน โรงเรียนแห่งหนึ่ง

 กาแลและหำยนต์ จิตวิญญาณที่ถูกจองจำ เมื่อเราพูดถึง กาแล หรือ แก๋แหล่ ทุกคนต้องเข้าใจว่าเป็นเครื่องประดับยอดนิยม และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ปลูกบ้านทรงไทยภาคเหนือ

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน